กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11227
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์กัลวานิกและความสามารถในการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of STEM education learning activities management on science learning achievements in the topic of galvanic cell and productive thinking ability of Mathayom Suksa VI students at Prachuab Wittayalai School in Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลวิชญ์ อังสวัสดิ์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องเซลล์กัลวานิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประจวบวิทยาลัยที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดผลิตภาพของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดผลิตภาพของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 43 คนของโรงเรียนประจวบวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แล้วจับฉลากให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เซลล์กัลวานิก (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เซลล์กัลวานิก (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ (4) แบบประเมินความสามารถในการคิดผลิตภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสูงกว่าของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความสามารถในการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสูงกว่าของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความสามารถในการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11227
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons