กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11345
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสาน เพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงและผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of a writing teaching model based on the integration of three teaching concepts to enhance higher-order thinking skills and writing achievement of upper secondary level students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิรักษ์ อนะมาน ไชยวัฒน์ ชุุ่มนาเสียว, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ ศุภวรรณ์ เล็กวิไล |
คำสำคัญ: | ภาษาไทย--การเขียน--นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสาน เพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงและผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสานที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วยการดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสาน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมืงที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการสอนเขียน และแบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความ และแบบประเมินการคิดขั้นสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความยาก และค่าความเชื่อมั่น และระยะที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจตุรัสวิทยาคาร อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลากได้นักเรียนจำนวน 2 ห้องเรียน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 39 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสาน และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการสอนเขียนแบบปกติ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียน และ (3) แบบประเมินการคิดขั้นสูง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) รูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสานเพื่อส่งเสริมการคิดขั้นสูงและผลสัมฤทธิ์ทางการเขียน ได้มาโดยการสังเคราะห์จาก 3 แนวคิด คือ แนวคิดจิตวิทยาพัฒนาการทางสติปัญญา แนวคิดการสอนเขียนเพื่อการสื่อสาร และแนวคิดการสอนการคิดโดยผ่านการประเมิน รูปแบบการสอนนี้ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสาน ปรากฏดังนี้ (2.1) นักเรียนที่เรียนจากรูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสาน มีคะแนนเฉลี่ยการคิดขั้นสูง สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนจากการสอนเขียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนเขียนแบบ 3 ประสานมีคะแนนเฉลี่ยการคิดขั้นสูงหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2.3) นักเรียนที่เรียนจากรูปแบบการสอนเขียนแบบ3 ประสานมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสูงกว่าของนักเรียนที่เรียนจากการสอนเขียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | ดุษฏีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11345 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 28.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License