กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11409
ชื่อเรื่อง: รูปแบบบ้านหนังสือชุมชนเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A model of community books house for promoting reading habit of people in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมาลี สังข์ศรี
สหัสชา เหมยบัว, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
คำสำคัญ: การส่งเสริมการอ่าน--ไทย--เชียงใหม่
ห้องสมุด
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการอ่านและความต้องการในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยบ้านหนังสือชุมชนของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบ้านหนังสือชุมชนเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เสนอรูปแบบบ้านหนังสือชุมชนเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนมีความสนใจในการอ่านหนังสือในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นหนังสือประเภทศาสนา ใช้เวลาอ่านวันละประมาณ 1 ชั่วโมง ปัญหาที่พบ ได้แก่ ห้องสมุดอยู่ไกลชุมชนหนังสือมีราคาแพง และมีประชาชนไปใช้บริการบ้านหนังสือชุมชนจำนวนน้อย ความต้องการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน พบว่า มีความต้องการอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาบ้านหนังสือชุมชน พบว่า ควรมีการวางแผนการดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบ ควรมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน ควรจัดให้มีหนังสือประเภทศาสนา เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และ ศิลปกรรมและนันทนาการ ควรจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรจัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ และห้องน้ำให้เพียงพอ และควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำบ้านหนังสือชุมชน 3) รูปแบบบ้านหนังสือชุมชนมีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดกิจกรรมและสื่อด้านการนิเทศติดตามและประเมินผล ด้านที่ตั้งและบริการ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11409
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons