Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11433
Title: การเปิดรับสื่อการรับรู้ทัศนคติและการใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Bangkok youths' exposure to, awareness of, attitude and uses of the Sufficiency Economy Philosophy
Authors: สันทัด ทองรินทร์
อภิญญา แก้วเปรมกุศล, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง--ปรัชญา--การใช้ประโยชน์
เยาวชน--ไทย--กรุงเทพฯ--ทัศนคติ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและสาร 2) การรับรู้ 3) ทัศนคติ4) การใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อและสาร และทัศนคติของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการวิจัยวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 1) เปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมในระดับมาก และเปิดรับจากโทรทัศน์และจากบุคคลในครอบครัวในระดับมาก 2) มีการรับรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากที่สุดในประเด็นความพอประมาณ 3) มีทัศนคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมในระดับมาก 4) มีการใช้ประโยชน์จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมในระดับมาก และ 5) การเปิดรับสื่อมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของเยาวชนในระดับต่ำที่ระดับนัยสำคัญ 0.05การเปิดรับสารมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของเยาวชนในระดับปานกลางที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11433
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158759.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons