กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11464
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการสอนฟิสิกส์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a physics instruction model based on STEM education approach to enhance physics learning achievement, critical thinking, and adversary quotient of upper secondary students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
พิทธพนธ์ พิทักษ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ดวงเดือน พินสุวรรณ์
มนัส บุญประกอบ
คำสำคัญ: ฟิสิกส์--การศึกษาและการสอน
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ--กิจกรรมการเรียนการสอน
การแก้ปัญหา--ฟิสิกส์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนฟิสิกส์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ประเมินรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการสอนมี 2 ขั้นตอน คือ (3.1) ขั้นตอนการสร้างสถานการณ์ปัญหา (3.2) ขั้นตอนการสอนมี 6 ขั้นตอน คือการระบุประเด็นปัญหา การสำรวจตรวจสอบ การตั้งสมมติฐานการประเมินผลเพื่อตัดสินใจเลือกสมมติฐาน การผลิตผลงาน และการประเมินผลงาน และ (4) การวัดและประเมินรูปแบบการเรียนการสอนและ 2) ผลการประเมินรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11464
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159482.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons