Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11466
Title: การประยุกต์ใช้การประเมินที่ขับเคลื่อนด้วยทฤษฎีในการพัฒนาและประเมินโครงการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Application of theory-driven evaluation approach for development and evaluation of the student’s democratic personality development project in schools under the office of basic education commission
Authors: สังวรณ์ งัดกระโทก
ประลอง ครุฑน้อย, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมคิด พรมจุ้ย
สุพักตร์ พิบูลย์
Keywords: การประเมินบุคลิกภาพ
การวิเคราะห์และประเมินโครงการ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างทฤษฎีโปรแกรมที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาและประเมินโครงการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) พัฒนาวิธีการประเมินโครงการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (3) ประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ทฤษฎีโปรแกรม ประกอบด้วย 2 โมเดลคือ (ก) โมเดลการกระทำ ได้กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยเป็นตัวแทรกแซง ซึ่งมีองค์ประกอบคือ คารวธรรม สามัคคีธรรมและปัญญาธรรมและ (ข) โมเดลการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย ตัวแทรกแซง ได้จากโมเดลการกระทำ ซึ่งมีตัวกำหนดคือ ความตระหนัก เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างตัวแทรกแซงกับผลลัพธ์ เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์คือ นักเรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตย (2) วิธีการประเมินโครงการ โดยยึดหลัก KUSAB ในการออกแบบประเมินให้ครอบคลุมโมเดลการเปลี่ยนแปลงและโมเดลการกระทำตามทฤษฎีโปรแกรม โดยมีเครื่องมือประเมินได้แก่ แบบทดสอบความรู้แบบประเมินความพึงใจ แบบประเมินความตระหนัก แบบประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน และแบบประเมินผลโครงการ และ (3) ผลการประเมินโครงการ พบว่า ผู้เรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีความตระหนักและจิตสำนึกที่ทำให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผู้เรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตยมากขึ้นหลังจากเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดโครงการนี้ เพราะมีประโยชน์ต่อผู้เรียน สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และผู้เรียนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Description: ดุษฏีนิพนธ์ (ปร.ด. (การประเมินการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11466
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159485.pdfเอกสารฉบับเต็ม75.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons