Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11470
Title: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดหัวข้อและการเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | The effects of using an activity package to promote thinking of titles and writing of science project proposals of Mathayom Suksa V students at Wat Samakkeenukun School in Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ จิรฐา ทองแก้ว, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดวงเดือน สุวรรณจินดา |
Keywords: | โครงงานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--นครศรีธรรมราช วิทยาศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างชุดกิจกรรมในการส่งเสริมการคิดหัวข้อและ การเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความสามารถ ในการคิดหัวข้อโครงงานและการเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดหัวข้อโครงงานและการเขียนข้อเสนอโครงงาน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการฝึกโดยใช้ชุดกิจกรรมกับนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 56 คน โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล อำเภอฉวาง จังหวัด นครศรีธรรมราช ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรม การส่งเสริมการคิดหัวข้อและการเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ (3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (4) แบบประเมินการ เขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การวิจัยปรากฏผลดังนี้ (1) ชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.73 / 82.62 (2) นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มีคะแนนความสามารถ ในคิดหัวข้อและการเขียนข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ หลังการฝึกโดยใช้ชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนที่ ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการคิดหัวข้อและการเขียน ข้อเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11470 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159613.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License