กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11476
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An integrated group counseling model to develop social intelligence of the elderly people in Southern Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกศิณี เขียนด้วง, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
ความฉลาดทางสังคม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคใต้ (2) ศึกษาความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคใต้ และ (3) พัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคใต้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 300 คน ในจังหวัดภาคใต้ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดความฉลาดทางสังคมที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 92 สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 2 การศึกษาความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 450 คน ในจังหวัดภาคใต้ ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 3 การพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 16 คน ในจังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีคะแนนจากแบบวัดความฉลาดทางสังคมตั้งแต่ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้ารับการทดลอง แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คนเท่ากัน ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ สถิติที่ใช้คือการทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคใต้มี 3 องค์ประกอบ คือการตระหนักรู้ทางสังคม กระบวนการด้านข้อมูลข่าวสารในสังคม และทักษะทางสังคม และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2) ความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคใต้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุประกอบด้วย การบูรณาการเทคนิคจากทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบยึดผู้รับเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ ทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบวิเคราะห์สัมพันธภาพ ทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบสั้นที่มุ่งเน้นคำตอบ และทฤษฎีการปรึกษากลุ่มแบบแอดเลอร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.66-1.00 การดำเนินการปรึกษากลุ่มโดยใช้ทฤษฎีดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นยุติ และผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ พบว่าความฉลาดทางสังคมของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นภายหลังการใช้รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(จิตวิทยาการแนะแนวและการปรึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11476
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
160887.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons