กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11496
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้วิธีสอนแบบพาโนรามาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสระไคร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using Panorama teaching method together with graphic mapping technique on Thai language interpretive reading ability and conclusion writing ability of Prathom Suksa IV students at Wat Srakrai School in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิรักษ์ อนะมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งทิวา ฉิมกูล, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การอ่านตีความ--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--นครศรีธรรมราช
การเขียน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--นครศรีธรรมราช
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสระไคร จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากวิธีสอนแบบพาโนรามาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก และ (2) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนสรุปความภาษาไทยของนักเรียนดังกล่าว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากวิธีสอนแบบพาโนรามาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดสระไคร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีสอนแบบพาโนรามาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ และ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนสรุปความภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ผลของการวิจัยปรากฏว่า (1) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความสามารถการเขียนสรุปความภาษาไทยของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 256
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11496
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163559.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons