กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11505
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between creative leaderships and the promoting for excellent energy school under Bangkok Primary Education Service Area Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตตินันท์ พลเสน, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาระดับการส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงานของผู้บริหารสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับการส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน และ (4) เสนอแนวทางการส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 214 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา และกลุ่มที่สองเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการห้องเรียนสีเขียว จำนวน 8 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และการส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน มีความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .98 ตามลำดับ และ 2) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีวิสัยทัศน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความคิดสร้างสรรค์ (2) การส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงานโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 ด้าน คือ ด้านนโยบายและระบบการดำเนินการตามนโยบายของโรงเรียนและด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการจัดซื้อการใช้ผลิตภัณฑ์และการจัดการขยะในโรงเรียน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงานมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ (4) แนวทางการส่งเสริมสถานศึกษาดีเด่นด้านพลังงาน ได้แก่ ผู้บริหารควรศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง สร้างความตระหนักและสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรทุกฝ่ายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11505
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons