กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11511
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้การสืบเสาะ 7E เป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรม สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of STEM education approach by basing on 7E inquiry on learning achievement and attitude towards Science in Science for Developing Industrial Technician Career Course of the 1st Year Vovational Certificate students at Surat Thani Technical College, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
บังอร ดำด้วงโรม, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรมของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้การสืบเสาะ 7E เป็นฐานกับของนักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด สะเต็มศึกษาโดยใช้การสืบเสาะ 7E เป็นฐานกับของนักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม และจับสลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรม ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้การสืบเสาะ 7E เป็นฐาน เรื่อง สมดุลวัตถุ การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง และงานพลังงาน และ (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติดังหัวข้อที่ได้กล่าวมาข้างต้น เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรม และ (2) แบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่เรียนจากวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้การสืบเสาะ 7E เป็นฐาน สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ หลังเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่เรียนจากวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้การสืบเสาะ 7E เป็นฐาน สูงกว่าเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11511
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons