กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11535
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between scientific reasoning and science learning achievement of Prathom Suksa VI students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญศรี พรหมมาพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลาวัลย์ รักสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กุลวดี ด่าโอะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ความสามารถทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--วิทยาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 384 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความตรงค่าความเที่ยง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยการให้เหตุผลแบบนิรนัย และแบบอุปนัย (2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ มีคุณภาพด้านความตรงมีค่าระหว่าง 0.60 -1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.21 0.62 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.45 ซึ่งแบบวัดมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด และ (3) ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11535
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165540.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons