กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11865
ชื่อเรื่อง: มาตรการคุ้มครองพยานในคดีอาญา ศึกษากรณี การปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Witness protection measures : a case study of fair treatment to witnesses according to witness protection act, B.E. 2546
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตะวัน เดชภิรัตนมงคล
พัณนิดา สมบูรณ์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานบุคคล--การคุ้มครอง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญา (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญาตามความตกลงระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย และ (4) เสนอแนวทางการจัดทำมาตรฐานกลางเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานให้แก่หน่วยงานที่มีภารกิจในการคุ้มครองพยาน สามารถนำไปใช้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้เทคนิคการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรากฎหมายวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความ วารสารทางวิชาการ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยการรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยาน ตามกฎหมายไทย และต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานในคดีอาญาเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อพยาน (2) อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการคุ้มครองพยานที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามแนวทางที่กำหนดไว้ ส่วนสหพันธ์รัฐเยอรมนีและสหรัฐอเมริกามีกฎหมายรองรับการคุ้มครองพยานไว้ชัดเจน ขณะที่ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติกฎหมายและแนวปฏิบัติ (3) อนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 กำหนดให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองพยานในคดีอาญาอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติต่อพยาน ทั้งการใช้มาตรการในการจัดย้ายที่อยู่ และจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครอง เมื่อเห็นว่าพยานและครอบครัวอาจได้รับอันตราย ส่วนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไม่มีกฎหมายเฉพาะเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่สหพันธ์รัฐเยอรมนีอาศัยกฎหมายตำรวจ ที่กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองพยานจะต้องปฏิบัติต่อพยานเป็นการเฉพาะ ขณะที่ประเทศไทย นอกจากไม่มีบทบัญญัติกฎหมายแล้ว ยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน (4) จึงควรออกระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานในคดีอาญา พ.ศ. .... โดยกำหนดบททั่วไปว่าด้วยการปฏิบัติต่อพยาน การปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพยานในกระบวนการยื่นคำร้องขอคุ้มครองความปลอดภัย และกระบวนการที่อยู่ระหว่างการคุ้มครองความปลอดภัย การติดตามและประเมินผลการดำเนินการคุ้มครองพยาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11865
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons