กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11980
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าโอทอปของนักท่องเที่ยว จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Tourist behavior on buying the OTOP in Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีย์ เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมฤดี ช่วยบำรุง, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สินค้าไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าโอทอปของนักท่องเที่ยว(2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการเลือกซื้อสินค้าโอทอปของนักท่องเที่ยว และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกบพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าโอทอปของนักท่องเที่ยว จังหวัดสระบุรี ประชากรคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาศูนย์โอทอปคอมเพล็กซ์ จังหวัดสระบุรี จ านวน 60,000 ราย ณ เดือนมิถุนายน 2560ขนาดกลุ่มตัวอยางค านวณโดยสูตรของทาโรยามาเน่ ได้ 334 คน เลือกตัวอย่างตามสะดวกหลังจากที่ชำเงินแล้ว โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าโอทอปของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้าประเภทอาหารมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นของฝาก/ของที่ระลึก ตัดสินใจ เลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง ช่วงเวลาที่เลือกซื้อคือ วันเสาร์-อาทิตย์ มีลักษณะการเลือกซื้อสินค้าแบบ ซื้อทันทีที่เห็นสินค้า ความถี่ในการเลือกซื้อน้อยกวาเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า แต่ละครั้งระหว่าง 301-600 บาท (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการเลือกซื้อสินค้าโอทอปโดยรวมและรายปัจจัยพบว่า อยูในระดับมาก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกบพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าโอทอปพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านประเภทสินค้า วัตถุประสงค์ ลักษณะ และช่วงเวลาในการเลือกซื้อสินค้าโอทอป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ปัจจัย มีผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการเลือกประเภทสินค้า วัตถุประสงค์ และช่วงเวลาในการเลือกซื้อสินค้าโอทอป อยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11980
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158830.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons