กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12044
ชื่อเรื่อง: | การจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Educational management according to multicultural approach of schools under the Office of Krabi Primary Education Service Area, Mueang Krabi district, Krabi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เก็จกนก เอื้อวงศ์ ปาริชาติ บริเพ็ชร, 2537- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 226 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารและครู 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรม เป็นแบบสอบถามแบบ ตอบสนองคู่ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ทั้ง 2 ด้าน และแนวคำถามในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการพัฒนาจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพที่เป็นจริงในการจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา มีลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ (2.1) การประเมินผลอย่างเป็นธรรม (2.2) การมีส่วนร่วมและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองและชุมชน (2.3) การจัดสภาพบรรยากาศพหุวัฒนธรรมภายในสถานศึกษา (2.4) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแนวทางการเรียนรู้ (2.5) การบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทุกกลุ่มชน และ (2.6) การพัฒนาหลักสูตรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ (3) แนวทางการพัฒนาจัดการศึกษาตามแนวพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษา ได้แก่ (3.1) สถานศึกษาควรกำหนดให้ครูได้ศึกษาวิถีชีวิตของนักเรียนทุกกลุ่มชนเพื่อสามารถกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ได้เหมาะสม (3.2) ครูควรประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความแตกต่างกัน (3.3) สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมทากิจกรรมโครงการที่แสดงอัตลักษณ์ของทุกกลุ่มศาสนาและวัฒนธรรม และ (3.4) สถานศึกษาควรสร้างกิจกรรมที่เพิ่มปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนของนักเรียนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12044 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License