กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12244
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A performance evaluation of Sukhothai Thammathirat Open University Regional Distance Education Centers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดร.นิตยา ภัสสรศิริ
บุณยนุช วุ่นสน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต
คำสำคัญ: การประเมินผลงาน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทั้ง 10 แห่ง จำแนกตามพื้นที่ตั้งของศูนย์วิทยพัฒนา และ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานในมิติประสิทธิผลตามพันธกิจระหว่างนักศึกษากับผู้ปฏิบัติงานศูนย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระหว่างเดือน กันยายน 2549 ถึง ตุลาคม 2550 พบว่า มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ โดยภาพรวมเกือบทุกศูนย์อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ยะลาอยู่ในระดับปานกลาง มิติด้านคุณภาพการให้บริการ โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกศูนย์ มิติด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากยกเว้น เพชรบุรี อุดรธานี และยะลาอยู่ในระดับปานกลาง มิติด้านการพัฒนาองค์การ พบว่าระดับการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น นครศรีธรรมราช จันทบุรี อยู่ในระดับมาก (2) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทั้ง 10 แห่ง จำแนกตามพื้นที่ตั้ง พบว่า มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ยะลา แตกต่างจาก อุดรธานี อุบลราชธานี นครนายก มิติด้านคุณภาพการให้บริการ พบว่า อุบลราชธานีแตกต่างจาก เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ขณะที่ ยะลา แตกต่างจากอุบลราชธานี อุดรธานีลำปาง มิติด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ พบว่าไม่แตกต่างกัน และมิติด้านการพัฒนาองค์การ พบว่าเพชรบุรี แตกต่างจาก จันทบุรี และ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานมิติประสิทธิผลตามพันธกิจระหว่างกลุ่มนักศึกษากับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานศูนย์ พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในด้านบริการการศึกษาแก่นักศึกษาและประชาชน และด้านส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย แต่มีความคิดเห็นแตกต่างกันในภาพรวม และด้านสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักศึกษา บัณฑิต คณาจารย์ และชุมชนเพื่อสนองตอบกิจกรรมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยคะแนนจากกลุ่มนักศึกษาสูงกว่ากลุ่มผู้ปฏิบัติงานศูนย์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12244
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons