กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12387
ชื่อเรื่อง: ผลการสอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่น ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using Central Region folktales together with gamification on Thai reading comprehension ability and creative writing ability of grade 6 students at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์
อิศเรศ สุขชม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศศิธร กาญจนสุวรรณ
คำสำคัญ: สื่อการสอน
นิทาน--กิจกรรมการเรียนการสอน
การอ่านจับใจความ
การเขียน--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (2) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถการอ่านจับใจความกับความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน โดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อร่วมกับเกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์กับความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r = .647 ** ) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12387
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons