กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12942
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสร้างคำอธิบาย เชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of flipped classroom together with 5Es inquiry-based instruction on analytical thinking skill and scientific explanation ability on the topic of force and law of motion of grade 10 students at Muang Suratthani School in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
มาริสา กาญจนคลอด, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ (ศึกษาพัฒนาการหลังเรียนหรือไม่ ตรวจสอบและเติมให้สมบูรณ์) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานีภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม (วิทยาศาสตร์ศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12942
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons