กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12943
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนละแมวิทยา จังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of Interpret data and evidence scientifically competency in the topic of ecosystem for grade 9 students by using argument-driven inquiry model at Lamaewittaya School, Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬารัตน์ ธรรมประทีป สุนิสา เพชรรัตน์, 2537- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดวงเดือน สุวรรณจินดา |
คำสำคัญ: | การแปลและการตีความ วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนละแมวิทยา ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ และ 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้รวมกับกลวิธีการโต้แย้งที่พัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มที่ศึกษา เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง แบบวัดสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ อนุทินสะท้อนความคิด ใบกิจกรรมของนักเรียน และแบบบันทึกประสบการณ์การเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่รอยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏวา 1) หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง นักเรียนทุกคนมีการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้น ความสามารถที่นักเรียนมีพัฒนาการมากที่สุด คือ ความสามารถการแปลงข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบอื่น นักเรียนมีความสามารถอยู่ในระดับดี ร้อยละ 21.62 และระดับผ่านร้อยละ 72.97 และ 2) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ (1) การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกแบบตารางบันทึกผลกิจกรรมและได้แปลงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทำให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาข้อมูลมากกว่าหนึ่งครั้งและสามารถเลือกหลักฐานจากข้อมูลมาสนับสนุนข้อสรุปและเชื่อมโยงเหตุผลได้ และ (2) การที่นักเรียนแปลงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ และเชื่อมโยงหลักฐานเข้าด้วยกัน ทำให้นักเรียนสามารถลงข้อสรุปได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม (วิทยาศาสตร์ศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12943 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License