กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12952
ชื่อเรื่อง: การศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of variables affecting learning achievement in Chemistry of students at the upper secondary level of Princess Chulabhorn Science High School Phetchaburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
วิภาวัน แสงสวี, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--เพชรบุรี
เคมี--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--เคมี
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความมีวินัยในตนเองเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และกรอบความคิดแบบเติบโต กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) สร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิทยาศาสตร์-จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 209 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่แบบประเมินตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียน ประกอบไปด้วย 1) ความมีวินัยในตนเอง (Z1) 2) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Z2) 3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ (Z3) 4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Z4) และ 5) กรอบความคิดแบบเติบโต (Z6) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันมากที่สุดเท่ากับ .598 และ 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มากที่สุด ซึ่งตัวแปรที่ได้ศึกษาสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมีของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 37.40 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z = -. 132(Z1) -. 106(Z2) + .070(Z3) + .646(Z4) + .095(Z,).
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม (วิทยาศาสตร์ศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12952
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons