กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12975
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ประสบความสำเร็จ : กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Successful management of a Buddhist Sunday Center: a case study of the Buddhist Sunday Center at Wat Mongkhon Wararam, Thalang District, Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
จันทนา สิทธิพันธ์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รัตนา ดวงแก้ว
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์--การบริหาร
พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม กรณีศึกษา คือ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดมงคลวราราม อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์ คณะกรรมการบริหารศูนย์ ครู นักเรียน ผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง จำนวน 25 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์ได้บริหารจัดการศึกษาจนประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ มีการเตรียมตัวรับสถานการณ์โลกในศตวรรษที่ 21 บริบทชุมชนเอื้อต่อการบริหารจัดการ นโยบายและกฎระเบียบมีความชัดเจน ภาครัฐและเครือข่ายส่งเสริมและสนับสนุน และการกำกับติดตามคุณภาพการจัดการศึกษามีมาตรฐาน (2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ โครงสร้างการบริหารองค์การมีความชัดเจน ภาวะผู้นำของผู้บริหารมีความเข้มแข็ง คณะกรรมการมีวิสัยทัศน์ ครูมีคุณสมบัติที่เหมาะสม หลักสูตรของศูนย์มีมาตรฐาน และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ (3) ด้านกระบวนการดำเนินการ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานศูนย์มีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชน การนิเทศกำกับติดตามการเรียนการสอนเน้นการมีส่วนร่วม และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนมีความเข้มแข็ง และ (4) ด้านผลผลิตของการบริหารจัดการ ได้แก่ คุณภาพผู้เรียนได้มาตรฐาน คุณภาพการสอนของครูสอดคล้องตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู และความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กับผู้ปกครองและชุมชนมีความเข้มแข็ง และ 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ ได้แก่ (1) ควรพัฒนาโครงสร้างบริหารให้มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น (2) ควรเน้นภาวะผู้นำแบบบูรณาการ (3) ควรพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (4) ควรระดมทรัพยากรการศึกษาให้เพียงพอและเหมาะสม (5) ควรสนับสนุนให้ครูนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และ (6) ควรเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายของศูนย์อย่างทั่วถึง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12975
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdf18.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons