กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12980
ชื่อเรื่อง: ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Leadership in information and communication technology of school administrators affecting academic administration of schools under the Secondary Educational Service Area Office Suphan Buri
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์
ฐิตาพร ธัญญผล, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศจี จิระโร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
การบริหารโรงเรียน--ไทย--สุพรรณบุรี
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จากสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 317 คน ได้จากการเปิดตารางของเครจซีและมอร์แกนที่ระดับความน่าเชื่อถือ 95% และสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการเสริมสร้างจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .91, .94, .96, .94, .97 ตามลำดับ และการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารงาน การเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ การเสริมสร้างจริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับ ดังนี้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวางแผนงานวิชาการ การวัดและประเมินผล การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการนิเทศการศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง และ 4) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารงาน และ การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 73.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12980
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons