กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12982
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the being of digital organization of schools under the Secondary Educational Service Area Office Phattalung |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โสภนา สุดสมบูรณ์ นลกช เกตุพลสังข์, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การศึกษากับเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ--การจัดการ |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 2) ความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษากับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง จำนวน 274 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็นองค์กรดิจิทัล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร บุคลากร งบประมาณ กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และ เครือข่ายการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87, .88, .87, .91 และ .93 ตามลำดับ และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านเครือข่ายการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านวัฒนธรรมองค์กรทางดิจิทัล ด้านทักษะทางดิจิทัล ด้านกระบวนการปฏิบัติงานในระบบดิจิทัล ด้านโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรทางเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ทางดิจิทัล 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษาในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 81 และ 4) ทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ เครือข่ายการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ภาวะผู้นำของผู้บริหาร กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และงบประมาณ ร่วมกันทำนายความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 66.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12982 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License