กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13073
ชื่อเรื่อง: ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียนของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Needs for developing classroom management of teachers in secondary schools in Chumphon Province under the Secondary Educational Service Area Office Surat Thani Chumphon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรณพ จีนะวัฒน์
ปิยวรรณ สุระชิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดการชั้นเรียน--ไทย--ชุมพร
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร และ 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 308 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนจำนวนครูในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 และ .97 ตามลำดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชุมพร เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการสร้างกฎระเบียบร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน ด้านการใช้เทคนิคและทักษะการสอน ด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมกับห้องเรียนและลักษณะผู้เรียน และด้านการเสริมแรง การให้กำลังใจ และการใช้จิตวิทยา
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13073
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2602300671.pdf2.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น