กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13153
ชื่อเรื่อง: ความต้องการจำเป็นและแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Needs and the Guidelines for Promoting Active Learning Management of Schools under Bang Khun Thian District Office, Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เก็จกนก เอื้อวงศ์
ณภษร นิลประดับ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนรู้--การจัดการ
การเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 255 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ และหัวหน้าฝ่ายการศึกษารวมทั้งสิ้น  7  คน  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่ พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงของสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .97 และ .95 ตามลำดับ และแนวคำถามในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  3) ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา เรียงลำดับได้ ดังนี้คือ ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการออกแบบและการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ และด้านการดำเนินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา ได้แก่ (1) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานครควรวางแผนและมอบนโยบายการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่โรงเรียน  (2) ศึกษานิเทศก์ควรนิเทศติดตาม โดยใช้หลักการนิเทศแบบร่วมพัฒนา และพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อเป็นแนวทางให้ครูได้ศึกษาเพิ่มเติม และ (3) ศึกษานิเทศก์ควรร่วมกับผู้บริหารจัดอบรมให้แก่ครู และจัดสัมมนาให้ครูได้ศึกษาดูงานจากโรงเรียนต้นแบบ รวมถึงจัดทำ PLC ในโรงเรียน (4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรนิเทศในชั้นเรียนโดยการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อช่วยเหลือ และให้คำแนะนำครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13153
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2632300428.pdf1.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น