กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13164
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ในสถานศึกษาอำเภอด่านขุนทด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between Interpersonal Skills of School Administrators and Professional Learning Community of School Teachers in Dan Khun Thot District under Nakhonratchasima Primary Educational Service Area Office 5
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว
เสริมศักดิ์ คิงขุนทด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน-- มนุษยสัมพันธ์
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม--ไทย--นครราชสีมา
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอด่านขุนทด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5  2) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาอำเภอด่านขุนทด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาอำเภอด่านขุนทด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำนวน 280 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับทักษะด้านมนุษย-สัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ .90 และ .90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอ ด่านขุนทด ในภาพรวมอยู่ระดับมาก 2) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาอำเภอด่านขุนทด ในภาพรวมอยู่ระดับมาก และ 3) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูมีความสัมพันธ์เชิงบวกและอยู่ในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: การศึกษาเฉพาะกรณี (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13164
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2632301319.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น