Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13173
Title: | ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณและความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 สาขาโยธาวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Effects of Flipped Classroom Instructions with Problem-Based Learning on Computational Thinking Ability and Problem Solving Ability for First - Year High Vocational Diploma Students in Civil Technology of Nakhon Si Thammarat Technical College |
Authors: | ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ วลัยพร พฤษารัตน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ดวงเดือน สุวรรณจินดา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์ ห้องเรียนกลับด้าน การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน ทักษะทางการคิด |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงคำนวณหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ชั้นปีที่ 1 สาขาโยธากับเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงชั้นปีที่ 1 สาขาโยธา กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการคิดเชิงคำนวณและความสามารถในการแก้ปัญหากลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงปีที่ 1 สาขาโยธา วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช จำนวน 1 ห้อง รวมทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง โมเมนตัม จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ รวม 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยปรากฏว่า1)ความสามารถในการคิดเชิงคำนวณหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหา หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ กับความสามารถในการแก้ปัญหามีความสัมพันธ์กันในทางบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.36 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13173 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2642000265.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.