กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13177
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Using Explicit-reflective Approach Instruction on Nature of Science Understanding and Science Process Skills of Grade 4 Students at Muangwapipathum School in Mahasarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน สุวรรณจินดา
ประเสริฐ ปะระทัง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางการคิด
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เปรียบเทียบความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิด และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2)  เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ                กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 35 คน จำนวนนักเรียนรวม 70 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 8 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิด จำนวน 8 แผน 3)  แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดสูงกว่าของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13177
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2642000505.pdf2.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น