กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13248
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Using Guidance Activity Packages base on the Japanese Ikigai Philosophy to Enhance Career Planning Ability of Grade 11 Students at Prachaksilapakarn School in Udonthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุรีรัตน์ นิลจันทึก
บุษบัน รอดรังษี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
นิรนาท แสนสา
คำสำคัญ: กิจกรรมการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์
การแนะแนวการศึกษา--ไทย--อุดรธานี
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพกับ กลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ               กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัดอุดรธานี จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาจากการวัดความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียน 11 ห้องเรียน แล้วเปรียบเทียบจับคู่ห้องเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวางแผนอาชีพใกล้เคียงกันมากที่สุด 2 ห้องเรียน จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเพื่อเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบวัดความสามารถในการวางแผนอาชีพ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 กิจกรรม และ 3) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฎว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพ ภายหลังการทดลอง มีความสามารถในการวางแผนอาชีพสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ  2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพ ภายหลังการทดลองมีความสามารถในการวางแผนอาชีพสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13248
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2652800166.pdf6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น