Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13334
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริการสาธารณะแนวใหม่กับประสิทธิผลการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Relationship between the new public service factors and the effectiveness of woman empowerment fund policy implementation: a case study of Mueang Mae Hong Son District, Mae Hong Son Province |
Authors: | นพพล อัคฮาด ณัฐภัทร เอี่ยมกระสินธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การจัดบริการสาธารณะแนวใหม่ ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาเฉพาะกรณี--รัฐประศาสนศาสตร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิผลการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปสู่การปฏิบัติ (2) ระดับการจัดบริการสาธารณะแนวใหม่ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (3) การเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติกับ ปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริการสาธารณะแนวใหม่กับประสิทธิผลของการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือหัวหน้าทีมขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาลและคณะกรรมการทีมขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล ทั้ง 7 ตำบล สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมจำนวน 1,350 คน โดยการกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดอย่างน้อย 309 คนสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบกลุ่มเครื่องมือในการศึกษาคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยด้วยวิธีแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นกับประสิทธิผลของการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (2) ระดับการจัดบริการสาธารณะแนวใหม่ในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ภาพรวมอยู่ระดับมาก (3) เปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้ แตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านสถานภาพการสมรส อาชีพ และ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แตกต่างกัน และ (4) มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการ บริการสาธารณะแนวใหม่กับประสิทธิผลของการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ในเชิงบวกในระดับสูงมาก (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .878) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13334 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2643003680.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.