กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13847
ชื่อเรื่อง: The Effects of Using a Guidance Activities Package on Proper Assertion Behaviors of Grade II Students at Wat Phukhao Thong School in Surat Thani Province
ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อพฤติกรรมการแสดงออก  อย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนวัดภูเขาทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: DUANGTHIP ANURAK
ดวงทิพย์ อนุรักษ์
Nitipat Mekkhachorn
นิธิพัฒน์ เมฆขจร
Sukhothai Thammathirat Open University
Nitipat Mekkhachorn
นิธิพัฒน์ เมฆขจร
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมแนะแนว  พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม  ประถมศึกษา
Guidance Activities Package
Proper Assertion Behaviors
Primary School
วันที่เผยแพร่:  23
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: The purpose of this study was to compare the proper assertion behaviors of students before and after the implementation of a guidance activities package.The sample consisted of 35 second-grade students from Wat Phukhao Thong School in the first semester of the 2024 academic year, selected through cluster sampling. The research instruments included 1) the assessment of proper assertion behaviors, with a reliability coefficient of .82, and 2) a guidance activities package consisting of 10 activities. The statistical methods used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, and t-test.The research results found that after using the guidance activities package, there was a statistically significant increase in students' proper assertion behaviors at the .05 level. Additionally, the analysis by component, it was found that both the speech and action components showed a statistically significant increases at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดภูเขาทอง จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 และ  2) ชุดกิจกรรมแนะแนว จำนวน 10 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมทั้งด้านการพูดและด้านการกระทำสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13847
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2602800621.pdf820 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น