กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13883
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นประจวบคีรีขันธ์เป็นสื่อในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using Prachuap Khiri Khan local wisdom as the media for developing reading comprehension ability and learning retention of Prathom Suksa VI students in schools under Prachuap Khiri Khan Primary Education Service Area 2, Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์
มาลินี สร้อยดอกไม้, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุภมาส อังศุโชติ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์
ภูมิปัญญาชาวบ้าน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
การอ่านขั้นประถมศึกษา--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นประจวบคีรีขันธ์เป็นสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (2) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นประจวบคีรีขันธ์เป็นสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนาห้วย (แสงกล้า-ประชาสรรค์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นประจวบคีรีขันธ์เป็นสื่อ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นประจวบคีรีขันธ์เป็นสื่อ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบซ้ำที่เว้นระยะเวลาไปแล้ว 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13883
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons