กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1638
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using a guidance activities package to develop desirable characteristics of Prathom Suksa III students at La-or-utis Demonstration School, Suan Dusit University in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุขอรุณ วงษ์ทิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประณิตา ทองพันธ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์
การให้คำปรึกษาในการศึกษาขั้นประถม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช่ชุดกิจกรรมแนะแนวและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จํานวน 24 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เท่ากัน กลุ่มทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์จํานวน 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที ส้วนกลุ่มควบคุมใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได่แก่ (1) แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และ (3) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล่การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทนีย์ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว นักเรียนกลุ่มทดลองมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1638
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159631.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons