กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1640
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of using a guidance activity package based on out-of-classroom learning management technique to develop social adaptation of Prathom Suksa I students at Saritdidet School in Chanthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา เขมณัฏฐ์ จันทรแสงนาวี, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์ การปรับตัวทางสังคม นักเรียนประถมศึกษา--กิจกรรมการเรียนการสอน-- ไทย--จันทบุรี การแนะแนว--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับการปรับตัวทางสังคม ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2) เปรียบเทียบระดับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนและกลุ่มควบคุมหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปกติเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคม และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทีมีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 88 คน ใน 2 ห้องเรียน ของโรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วกำหนดโดยสุ่มให้เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ห้องเรียนละ 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน (2) แบบวัดการปรับตัวทางสังคม และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีระดับการปรับตัวทางสังคมสูงขึ้นกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนมีระดับการปรับตัวทางสังคมสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ทํากิจกรรมแนะแนวปกติอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 ในด้านการอยู่ร่วมกัน ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง ส่วนด้านเคารพกฎกติกานั้นทั้งสองกลุ่มมีระดับการปรับตัวทางสังคมไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในระดับมาก ต่อชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1640 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_160608.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License