กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1642
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting on choosing further learning program of upper secondary students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา จำลอง นามูลตรี, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ นักเรียนมัธยมศึกษา--การศึกษาต่อ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยทำนายด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การรับรู้โลกของอาชีพและการทำงาน ความคาดหวังของครอบครัว และชื่อเสียงสถาบันที่จะศึกษาต่อ (2) ศึกษาการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทำนายกับการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (4) ศึกษาอำนาจการพยากรณ์การเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจากปัจจัยทำนาย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 21 จำนวน 374 คน จากประชากรนักเรียนจำนวน 17,128 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้วิธีของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีปัจจัยการทำนายด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้โลกของอาชีพและการทำงาน และความคาดหวังของครอบครัวอยู่ในระดับมาก และปัจจัยการทำนายด้านชื่อเสียงของสถาบันที่จะศึกษาต่อ อยู่ในระดับมากที่สุด (2) การเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การรับรู้โลกของอาชีพและการทำงาน และความคาดหวังของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับการเลือกศึกษาต่อนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ปัจจัยทำนายด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X1) การรับรู้โลกของอาชีพและการทำงาน (X2) และความคาดหวังของครอบครัว (X3) สามารถพยากรณ์การเลือกศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 34.5 โดยสามารถเขียนเป็นสมการทำนายได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = .192 + .401x2+ .226x1+ .153x3 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .318x2+ .225x1+ .175x3 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1642 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_160547.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License