กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1644
ชื่อเรื่อง: ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเกสตัลท์ต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนพิการเรียนรวมโรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of group counseling based on gestalt counseling theory on self-awareness of disabled students in mainstreaming classroom of Wang Nuea Wittaya School, Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปนัดดา ยะติน, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --วิทยานิพนธ์
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
นักเรียนมัธยมศึกษา--ไทย--ลำปาง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนพิการเรียนรวมของโรงเรียนวังเหนือวิทยา ก่อนและหลังการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเกสตัลท์ของกลุ่มทดลอง และ 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนพิการเรียนรวมของโรงเรียนวังเหนือวิทยาหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนพิการเรียนรวม ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง ที่มีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 จำนวน 30 คน ได้มาโดยสุ่มอย่างง่าย แบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ15 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเกสตัลท์ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .73 2) โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเกสตัลท์ และ 3) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนพิการเรียนรวมที่ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเกสตัลท์ มีการตระหนักรู้ในตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนพิการเรียนรวมกลุ่มทดลองที่ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่ม ตามแนวคิดทฤษฎีการปรึกษาเกสตัลท์ มีการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่านักเรียนพิการเรียนรวมกลุ่มควบคุมที่ได้รับกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1644
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_160988.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons