Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1648
Title: ปัจจัยทำนายสมรรถนะการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Factors predicting communication competency of professional nurses in emergency unit at community hospitals, Ubonratchatanee Province
Authors: สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชาดา กองสิน, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์.
พยาบาล -- ไทย -- อุบลราชธานี
สมรรถภาพในการทำงาน
สมรรถนะ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมรรถนะการสื่อสารของ พยาบาลวิชาชีพในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (2) ความสัมพันธ์ของระยะเวลาปฏิบ้ติงาน แบบแผนการ สื่อสาร การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้นโยบายการสื่อสารในองค์การ บรรยากาศการ สื่อสารในองค์การ และสมรรถนะการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ความสามารถในการ ทำนายของระยะเวลาปฏิบัติงาน แบบแผนการสื่อสาร การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ นโยบายการสื่อสารในองค์การ บรรยากาศการสื่อสารในองค์การต่อสมรรถนะการสื่อสารของพยาบาล วิชาชีพในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 158 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูล ทั่วไป (2) แบบแผนการสื่อสาร (3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (4) การรับรู้นโยบายการสื่อสาร ในองค์กร (5) บรรยากาศการสื่อสารในองค์การ และ (6) สมรรถนการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพใน งานอุบัติเหตุและฉกเฉิน แบบสอบถามมีดัชนีความตรงตามเนี้อหาของส่วนที่ 2-6 เท่ากับ 1.00, .95, 1.00, 1.00 และ .95 และมีคำสัมประสิทธแอลฟาครอนบราค เท่ากับ .86, .86, .95, .86, .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพในงานอุบัติเหตุและถุกเฉิน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) การรับรู้ความสามารถของตนเองและบรรยากาศการสื่อสารใน องค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับสมรรถนะการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพ ส่วน ระยะเวลาปฏิบัติงาน แบบแผนการสื่อสารด้านการตัดสินใจ และการรับรู้นโยบายการสื่อสารในองค์การ มี ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่ากับสมรรถนะการลื่อสารของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (3) ระยะเวลาปฏิบัติงาน แบบแผนการลื่อสารด้านการตัดสินใจ การรับรู้ความสามารถของ ตนเอง และบรรยากาศการสื่อสารในองค์การสามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะการลื่อสารของพยาบาล วิชาชีพได้ร้อยละ 29.8
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1648
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib159442.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons