กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1656
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับประชาชนชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A guideline for providing non-formal and informal education activities for developing life skills of hill tribe people in Chingrai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุมาลี สังข์ศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา เสาวลักษณ์ประภา พันธุ์จำเริญ, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย --วิทยานิพนธ์ การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย--กิจกรรมการเรียนการสอน ทักษะชีวิต--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับประชาชนชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาสาสมัคร และความต้องการของประชาชนชาวไทยภูเขาต่อแนวทางการจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และ 3) สังเคราะห์และเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตประชาชนชาวไทยภูเขา ด้านวัตถุประสงค์ ด้านเนื้อหาสาระที่จัดกิจกรรม ด้านรูปแบบวิธีการจัด ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านสถานที่ในการจัดกิจกรรม ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากร วิทยากรให้ความรู้ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ด้านระยะเวลา อยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาในการจัดทุกคนมีปัญหาในระดับปานกลาง (2) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูอาสาสมัครและความต้องการของประชาชนชาวไทยภูเขาต่อแนวทางการจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับประชาชนชาวไทยภูเขา คือ ควรจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต จัดกระบวนการเรียนรู้โดยการศึกษาจากการปฏิบัติจริง มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงมีการใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่หลากหลาย มีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ และส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมวางแผน ร่วมจัดร่วมรับผลประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน และ (3) แนวทางการจัดแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตประชาชนชาวไทยภูเขา ด้านวัตถุประสงค์ ควรเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทุกช่วงวัย พัฒนาทักษะชีวิตไนการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านเนื้อหากิจกรรมควรมีแผนการจัดกิจกรรมให้ครบและครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกเนื้อหา ทุกวัตถุประสงค์ ด้านรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมควรส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมใหม่ๆ ดัานสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ควรให้ความสำคัญในการนำสื่อท้องถิ่น สื่อบุคคล ภูมิปัญญา และสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ ด้านการประชาสัมพันธ์ควรมีการประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องมือที่หลากหลายและมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าซ้ำหลายครั้ง ด้านวิทยากรควรมีการอบรมและพัฒนาครูให้สามารถเป็นวิทยากรแกนนำในการให้ความรู้ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการมีส่วนร่วมควรส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1656 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161713.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License