Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1750
Title: | การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลวังม่วงสัทธรรม จังหวัดสระบุรี |
Other Titles: | The development of the motivation enhancement for staff nurses program at Wangmuangsattam Hospital, Saraburi Province |
Authors: | สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา ราศรี ลีนะกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา สมจิตร พูลเพ็ง, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ การจูงใจ (จิตวิทยา) การทำงาน -- แง่จิตวิทยา พยาบาล |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเสริมสรัาง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลวังม่วงสัทธรรม จังหวัดสระบุรึ และ 2) ประเมินผล โปรแกรมการเสริมสรัางแรงจูงใจที่พัฒนาขึ้น ประชากรเป้าหมายประกอบด้วย พยาบาลหัวหน้างาน 1 คน และพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานใน แผนกผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 11 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจของพยาบาลประจำการ โดยการทบทวนวรรณกรรม การสังเกตสิ่งแวดล้อม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการเสริมสรัางแรงจูงใจ โดยกำหนดประเด็นที่ต้องการพัฒนาร่วมกัน 3 ประเด็น คือ 1) อัตรากำลังและตารางการปฏิบัติงาน 2) สวัสดิการ และวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานและ 3) การสื่อสาร ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในรูปแบบวงจรการวิจัยคือ ร่วมกันวางแผน ปฏิบัติสังเกต และสะท้อนการปฏิบัติ แล้วนำมาปรับปรุงแผน หมุนเวียน จนได้พบแนวปฏิบัติที่สมาชิกพึงพอใจ จึงยุติและสรุปผลการดำเนินงาน และ 3) ระยะประเมินผล เปรียบเทียบแรงจูงใจและสภาพแวดล้อมก่อนและหลังการดำเนินการตามโปรแกรม เครึ่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามแรงจูงใจ และแบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ทดสอบความตรงตามข้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.94 และ 0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการเสริมสรัางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ประกอบด้วย (1) จัดอัตรากำลังให้เพึยงพอกับภาระงาน (2 ) จัดตารางปฏิบัติงานให้มีความยืดหยุ่น มีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน (3) จัดให้มีวัสดุครุภัณฑ์ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน (4) จัดสวัสดิการเพิ่มเติมและ (5) พัฒนาการสื่อสารในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มช่องทางการสื่อสาร 2) พยาบาลประจำการมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการรับรู้สิ่งแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงาน สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t - 2.34, P <0.05; เ= 3.54, p<0.05) นอกจากนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงานด้านการสื่อสารในองค์กร รวมทั้งทำให้พยาบาลประจำการมีความพึงพอใจในงานสูงขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1750 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib108788.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License