กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1812
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้น้ำพืชสมุนไพรผสมอาหารต่อการรอดตายและเติบโตของกุ้งขาวแวนนาไม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of herbal extract supplementation on survival rate and growth performance of Pacific White Shrimp
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนิต ผิวนิ่ม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายชล เพลินจิตต์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
กุ้งขาวแวนนาไม--โรค
กุ้งขาวแวนนาไม--การเลี้ยง--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้น้ำพืชสมุนไพรเสริมอาหารเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมต่อการเจริญเติบโต อัตราการแลกเนื้อ อัตราการเลี้ยงรอด คุณภาพน้า และปริมาณเชื้อวิบริโอในตับกุ้ง ผลการทดลองพบว่า การเสริมน้าสมุนไพรในอาหารทุกทรีตเมนต์มีผลต่อการเจริญเติบโตและ อัตราการแลกเนื้อของกุ้งขาวแวนนาไมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P >.05) กุ้งที่ได้รับอาหารเสริมน้าต้นน้านมราชสีห์ (T5) มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยสูงสุด คือ 0.063 กรัมต่อตัวต่อวัน และมีอัตราการแลกเนื้อดีที่สุด คือ 1.14 ส่วนกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมน้าสาหร่ายคีโตมอร์ฟา (T3) มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำสุด คือ 0.059 กรัมต่อตัวต่อวัน และมีอัตราการแลกเนื้อด้อยที่สุด คือ 1.22 ทั้งนี้กุ้งที่ได้รับอาหารเสริมน้าหญ้าแห้วหมู (T4) มีอัตราการรอดตายต่าสุด คือ ร้อยละ 83.33 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีอัตราการรอดตายสูงสุด คือ ร้อยละ 94.44 อย่างไรก็ดีอัตราการรอดตายของกุ้งทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ (P>0.05) นอกจากนี้การใช้น้ำพืชสมุนไพรเสริมอาหารมีผลต่อคุณภาพน้ำเลี้ยงกุ้งไม่แตกต่างกัน (P>0.05) สำหรับปริมาณเชื้อวิบริโอสีเหลืองและสีเขียวในตับกุ้งพบว่า กุ้งที่ได้รับอาหารเสริมต้นน้ำนมราชสีห์ (T5) มีปริมาณเชื้อวิบริโอสีเหลืองต่ำสุด คือ 2.37×104 ซีเอฟยู/กรัม และกุ้งที่ได้รับอาหารเสริมน้ำต้นลูกใต้ใบ (T6) มีปริมาณเชื้อวิบริโอสีเหลืองสูงสุด 5.47 ×104 ซีเอฟยู/กรัม สำหรับกุ้งที่ได้รับอาหารเสริมน้ำต้นลูกใต้ใบ (T6) มีปริมาณเชื้อวิบริโอสีเขียวสูงสุด 4.75×102 ซีเอฟยู/กรัมและตรวจไม่พบปริมาณเชื้อวิบริโอสีเขียวในกุ้งที่ได้รับอาหารเสริมน้าหญ้าแห้วหมู (T4) และอาหารเสริมน้ำต้นน้ำนมราชสีห์ (T5)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1812
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141035.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons