กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1819
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to the use of evidence-based nursing practice at Chiengkham Hospital, Payao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, 2495- อาจารย์ที่ปรึกษา
สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดินุช ศุภการกำจร, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พยาบาลวิชาชีพ -- ภาระงาน
การพยาบาล -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเซิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการ ปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนโยบายองค์กร ปัจจัย ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร ปัจจัยด้านสมรรถนะของพยาบาลและปัจจัยด้านปัญหาอุปสรรคกับ การใช้หลักฐานเซิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล (3) ปัจจัยที่ร่วมทำนายการใช้หลักฐานเชิง ประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ทุกคนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา ในช่วงที่ศึกษา จำนวน 199 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้หลักฐานเซิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล และการใช้หลักฐาน เซิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มิถุนายน 2551 สถิติที่ใชัวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้หลักฐานเซิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.35) (2) ปัจจัยด้านสมรรถนะของพยาบาล ปัจจัยด้านนโยบายองค์กร ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกและปัจจัยด้านปัญหาอุปสรรคมี ความสัมพันธ์ทางลบกับการใช้หลักฐานเซิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล (r = .53, P <.001; r= .42, P <.001; r = .35, p <.001; r = - .33, p <.001 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (3) ปัจจัยด้านสมรรถนะของพยาบาล ปัจจัยด้านนโยบายองค์กรและปัจจัยด้านปัญหาอุปสรรค สามารถ ร่วมกันทำนายการใช้หลักฐานเซิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลได้ ร้อยละ 38 ( R2 = .38) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยครั้งนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการใช้หลักฐานเซิงประจักษ์ ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1819
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib108913.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons