กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1995
ชื่อเรื่อง: | ผลการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effective of assertive behavior training for head nurses in Saiyok Community Hospital Kanchanaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีนวล สถิตวิทยานันท์ มณฑา วงศ์ประเสริฐ, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ นิธิพัฒน์ เมฆขจร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การแสดงออก (จิตวิทยา) โรงพยาบาลชุมชน--ไทย--กาญจนบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลของการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมของผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารการพยาบาลใรงพยาบาลชุมชน ในอำเภอไทรใยค จังหวัดกาญจนบุรี ต่อการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารการพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง และสุ่มเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอย่างละ 15 คน เครื่องมีอที่ใช้ในการทดลองคือ (1) โปรแกรมฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมของผู้บริหารการพยาบาล ตามแนวคิดของ Clark(1978) (2) แบบประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่ เหมาะสมสำหรับผู้บริหารการพยาบาลประเมินตนเอง (3) แบบประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสม สำหรับหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการฝึกเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและเครื่องมือฉบับที่ (2) (3) และ (4) ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96, .89และ .94 ตามลำดับ ใช้เวลาในการฝึกอบรม จำนวน 6 สัปดาห์ ๆ ละ 1ชั่วโมง 30 นาที เก็บข้อมูลพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนและหลังการฝึกอบรม 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเที่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ สถิติทดสอบค่าทีและทดสอบความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารการพยาบาลที่ได้รับการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมมี คะแนนประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .001) (2) ผู้บริหารการพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสม มีคะแนนประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.(X)l) (3) ผู้บริหารการพยาบาลที่ได้รับการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสม มีคะแนนความพึงพอใจต่อการฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมในภาพรวมในระดับมาก ร้อยละ 100 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1995 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib127861.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License