กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2069
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์กับผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Relationships between result based management and nursing outcomes as perceived by professional nurses of hospitals under Department of Health, the Ministry of Public Health |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พูลสุข หิงคานนท์ ณัฐนันท์ วงษ์มามี, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุภมาส อังศุโชติ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาล--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบริหารจัดการแบบมุ่งผล สัมฤทธิ์ ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฎิบัติงานในโรงพยาบาล สังกัดกรมอนามัย (2) ผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของพยาบาลวิชาชีพ กับผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฎิบัติงานใน โรงพยาบาลสังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล การบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกรมอนามัย แบบสอบถามผ่านการ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์หาความเที่ยง โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 และ ส่วนที่ 3 เท่ากับ .94 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียธ์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกรมอนามัย อยู่ในระดับสูง (2) ผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกรมอนามัย อยู่ในระดับสูง และ (3) การ บริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = .936) กับผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2069 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib13380.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License