กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2096
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัยกับการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between communication skills, safety competency, and patient safety management of staff nurses at an Autonomous University Hospital in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงกมล ปิ่นเฉลี่ยว
กนกขวัญ เผ่าทิพย์จันทร์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย--มาตรการความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัย และระดับของการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัย กับ การจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการ และ (3) ศึกษาตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์การจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในคำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลประจำการที่ปฎิบัติงานในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ แห่งหนึ่ง คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้ Power analysis และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจาก การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามทักษะในการสื่อสาร 3) แบบสอบถามขีดความสามารถด้านความปลอดภัย และ 4) แบบสอบถามการจัดการความปลอดภัยของพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม (S-CVI) ส่วนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ .80, .89 และ .88 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราค ของแบบสอบถาม ส่วนที่ 2, 3 และ 4 เท่ากับ .93, .93 และ .89 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเที่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบเข้าพร้อมกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะในการสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัย และ การจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการโดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) ทักษะในการสื่อสาร และ ขีดความสามารถด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการในระดับปานกลาง และระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.42, 0.52 ตามลำดับ) (3) ทักษะในการสื่อสาร และขีดความสามารถด้านความปลอดภัยสามารถร่วมกันพยากรณ์การจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการได้ร้อยละ 27.4 (R2 = .274)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2096
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib138800.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons