กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2189
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ของลูกค้าธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขายูโอบี เวลท์แบงกิ้งเซ็นเตอร์ สยามพารากอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: E-banking service at United Overseas Bank (Thai) Public Company Limited, Wealth Banking Centre, Siam Paragon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติมา เครือฟู
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต
พฤติกรรมผู้บริโภค
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ 2) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้บริการธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ ของธนาคารยูโอบี จากัด(มหาชน) การวิจัยครั้งนี้ กลุ่มประชากร คือ กลุ่มผู้ที่เข้ามาใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ในการทำธุรกรรมทางด้านการเงินกับทางธนาคารยูโอบี จากัด (มหาชน) โดยใช้แบบสอบถาม และได้ทำการสุ่มเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง ตามจุดมุ่งหมาย (Purposive Sampling) จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง มีอายุ 29 – 42 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมีรายได้ต่อเดือน 50,000 บาท มีจำนวนมากที่สุด 1) พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือมากที่สุด โดยการฝาก-ถอนเงินมีความถี่ในการทำธุรกรรมผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ต่อสัปดาห์ มากที่สุด 2 ครั้ง ช่วงเวลาที่ใช้บริการ มากที่สุดคือ 12:00 – 15:00 น. 2) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการและ ด้านกายภาพในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ส่วนประเด็นย่อยในทุกด้านนั้นมีระดับ ความพึงพอใจมากเช่นกัน 3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อาชีพ ช่วงอายุและระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในทุกประเด็นที่แตกต่างกัน สำหรับด้านสถานภาพที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ในประเด็นต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้บริการธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ได้แก่ เพศ อาชีพ ช่วงอายุและระดับการศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 68.50 และ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2189
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159147.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons