Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2304
Title: | การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน |
Other Titles: | Exportation of Thai dried Longan with shell to the People Republic of China |
Authors: | สุนีย์ ศิลพิพัฒน์ เกษม พรหมมินทร์, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ลำไย--การส่งออก ลำไย--การตลาด การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์. |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดของลำไยอบแห้งทั้งเปลือกในประเทศไทย และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษาใช้ทั้งวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ เชิงปริมาณใช้วิธีสมการถดถอยเชิงซ้อนเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลาในช่วงปี พ.ศ. 2533-2553 ประกอบด้วย ราคานำเข้า C.I.F. ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รายได้ประชาชาติ จำนวนประชากรและมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรของสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการศึกษาพบว่า 1) การผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนในระยะเริ่มแรกสามารถแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตลำไยสดตกต่ำ อันเนื่องมาจากปริมาณผลผลิตลำไยสดออกสู่ตลาดมากเกินไปได้ จึงทำให้เกษตรกรเพิ่มการผลิตโดยการขยายพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดในระยะต่อมา ทั้งลำไยสดและลำไยอบแห้งทั้งเปลือกขึ้นอีก ส่งผลทำให้ราคาลำไยทั้งสองชนิดลดลง รัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาโดยการประกันราคา ทำให้รัฐบาลขาดทุนเป็นจำนวนเงินที่มากกว่ารายได้เกษตรกรได้รับเพิ่มขึ้น ในขณะที่เกษตรกรขยายการผลิตโดยการขยายพื้นที่เพราะมีความมั่นใจว่ารัฐบาลเข้ามาการประกันราคาแล้วทำให้ไม่ขาดทุนจากการเพิ่มการผลิต ซึ่งเป็น ผลเสียในระยะยาว ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาด้วยการแทรกแซงตลาดที่เป็นการบิดเบือนกลไกตลาด และควรส่งเสริมการผลิตของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต รวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการตลาด 2) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ราคานำเข้า C.I.F. ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกจากประเทศไทย โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามและมีนัยสำคัญทางสถิติระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2304 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128859.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License