กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2304
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Exportation of Thai dried Longan with shell to the People Republic of China
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนีย์ ศิลพิพัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกษม พรหมมินทร์, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ลำไย -- การส่งออก
ลำไย -- การตลาด
การศึกษาอิสระ -- เศรษฐศาสตร์.
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดของ ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกในประเทศไทย และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ของประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษาใช้ทั้งวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ เชิงปริมาณใช้วิธีสมการถดถอยเชิงซ้อนเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกลำไยอบแห้งทั้ง เปลือก ซึ่งเป็นข้อมูลอนุกรมเวลาในช่วงปี พ.ศ. 2533-2553 ประกอบด้วย ราคานำเข้า C.I.F. ลำไยอบแห้ง ทั้งเปลือกจากประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รายได้ประชาชาติ จำนวนประชากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรของสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการศึกษาพบว่า 1) การผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระยะเริ่มแรกสามารถแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตลำไยสดตกต่ำ อันเนื่องมาจากปริมาณผลผลิตลำไยสด ออกสู่ตลาดมากเกินไปได้ จึงทำให้เกษตรกรเพิ่มการผลิตโดยการขยายพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดในระยะต่อมา ทั้งลำไยสดและลำไยอบแห้งทั้งเปลือกขึ้นอีก ส่งผลทำให้ ราคาลำไยทั้งสองชนิดลดลง รัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาโดยการประกันราคา ทำให้รัฐบาลขาดทุนเป็น จำนวนเงินที่มากกว่ารายได้เกษตรกรได้รับเพิ่มขึ้น ในขณะที่เกษตรกรขยายการผลิตโดยการขยายพื้นที่ เพราะมีความมั่นใจว่ารัฐบาลเข้ามาการประกันราคาแล้วทำให้ไม่ขาดทุนจากการเพิ่มการผลิต ซึ่งเป็น ผลเสียในระยะยาว ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรใช้มาตรการในการแก้ไขปัญหาด้วยการแทรกแซงตลาดที่เป็น การบิดเบือนกลไกตลาด และควรส่งเสริมการผลิตของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อลดต้นทุนการ ผลิต ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต รวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการตลาด 2) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการ ส่งออกลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของประเทศไทยไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ราคานำเข้า C.I.F. ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกจากประเทศไทย โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามและมีนัยสำคัญทาง สถิติระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2304
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128859.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons