Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2569
Title: การประเมินผลการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่โถ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ โดยเทคนิคการวัดแบบสมดุล
Other Titles: Evaluation of the Mae Tho Royal Project Agriculture Cooperatives Ltd. Performance, Chiang Mai Province by balanced scorecard technique
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทศเทพ เทศวานิช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--การจัดการ
สหกรณ์การเกษตร--การประเมิน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตร โครงการหลวงแม่โถจํากัด จังหวัดเชียงใหม่และ 2) ประเมินผลการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวง แม่โถจํากัดจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรในการศึกษาคือสมาชิกของสหกรณ์กรรมการดำเนินการ และฝ่ายจัดการ ทั้งหมด โดย เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสอบถาม และข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานกิจกการประจำปี และรายงาน งบการเงิน ปี 2554 ปี 2553 และปี 2552 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพทั่วไปสหกรณ์ได้รับการจัดตั้งและมีการดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี 2550 ปัจจุบันมีสมาชิก 49 คน กรรมการดำเนินการ 9 คน และฝ่ายจัดการ 2 คน การดำเนินงานสหกรณ์มีกำไรสุทธิทุกปี 2) การประเมินผลการดำเนินงานสหกรณ์โดยเทคนิคการวัดแบบสมดุล มุมมองด้านการเงิน วิเคราะห์จาก อัตราส่วนทางการเงิน พบว่ามีค่าใก้ลเคียงกับอัตราส่วนเฉลี่ยของกรมตรวจบญชีสหกรณ์แต่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสหกรณ์มีสินทรัพยหมุนเวียน (เงินฝากธนาคาร) จํานวนมากโดยที่ไม่ได้นําไปลงทุนใหเกิดผลตอบแทน ที่สูงกวาดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร มุมมองด้านลูกค้า สมาชิกในฐานะลูกค้าของสหกรณ์มีระดับความพึงพอใจด้าน ธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ และด้านนโยบายของสหกรณ์ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.58) แต่ควรเพิ่มประเภทธุรกิจ ตามการประกอบอาชีพของสมาชิกเช่น การรวบรวมหรือแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่สมาชิกผลิต มุมมองด้าน กระบวนการภายใน กรรมการดาเนินการและฝ่ายจัดการ มีระดับความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านการให้บริการ ลูกค้า (สมาชิกสหกรณ์) ด้านการดำเนินงานของสหกรณ์และด้านสังคม ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.52) แต่ควรมี การจัดทำแผนกลยุทธุ์เพื่อเป็นทิศทางการดำเนินงานในระยะยาวและ มุมมองด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต กรรมการดาเนินการและฝ่ายจัดการมีระดับความคิดเห็นในการพัฒนาทักษะ การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร สหกรณ์ด้านนวัตกรรม และการมีระบบสารสนเทศในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34) แต่ควรสนับสนุนให้มีการ ให้ความรู้และเพิ่มทักษะ ประสบการณ์จากการเข้ารับการอบรม การเขาร่วมประชุมกับหน่วยงานและเครือข่าย สหกรณ์ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัด
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2569
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
128861.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons