กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2899
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนท่ามะกา 1 จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using Central Region folk tales on interpretive reading ability of Prathom Suksa III students of Thamaka 1 school cluster in Kanchanaburi Porvince
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี ยหะกร,อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาวิณี สุขสอาด, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
การอ่านตีความ--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การอ่านขั้นประถมศึกษา--ไทย--กาญจนบุรี
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองลาน กลุ่มโรงเรียนท่ามะกา 1 จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อและ (2) แบบทดสอบความสามารถการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้นิทานพื้นบ้านภาคกลางเป็นสื่อ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2899
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_166481.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons