กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3022
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้กากมะพร้าวเสริมด้วยเอนไซม์ไฟเตสต่อคุณลักษณะทางการผลิตของไก่กระทง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of coconut meal supplemented with phytase on productive performances of broilers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทนา ช่วยชูวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณดี อ่อนน้อม, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ไก่กระทง--อาหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาผลการใช้กากมะพร้าวเสริมด้วยเอนไซม์ไฟเตส ต่อคุณลักษณะทางการผลิตของไก่กระทง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางการผลิตไก่กระทงด้านการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก คุณภาพเนื้อไก่กระทง และต้นทุนค่าอาหาร ผลการทดลองพบว่า การใช้กากมะพร้าวที่ระดับ 16 เปอร์เซ็นต์ มีผลเพิ่มน้ำหนักตัวและปริมาณอาหารที่กินของไก่มากกว่าการใช้อาหารกากมะพร้าวที่ระดับ 8 เปอร์เซ็นต์และอาหารควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ส่วนอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของทุกทรีตเมนต์มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) การเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารกากมะพร้าวมีผลต่อคุณลักษณะทางการผลิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ด้านคุณภาพซาก พบว่า ไก่ทดลองทุกทรีตเมนต์ยกเว้นทรีตเมนต์ 2 มีเปอร์เซ็นต์ซากไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่พบความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์ตับ เปอร์เซ็นต์หัวใจและเปอร์เซ็นต์กึ๋นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ไก่ที่ได้รับอาหารกากมะพร้าวที่ระดับ 16 เปอร์เซ็นต์ มีต้นทุนค่าอาหาร 5 ต่อการเพิ่มน้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัมน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้อาหารควบคุมและอาหารกากมะพร้าว 8 เปอร์เซ็นต์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3022
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146074.pdfเอกสารฉบับเต็บ10.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons